ปราสาทบรานแห่งโรมาเนีย เป็นปราสาทของเจ้าผู้ครองแคว้นทรานซิลวาเนีย อายุเก่าแก่กว่า 600 ปี วันหนึ่ง เกิดมีนักเขียนนิยายชื่อดังชาวไอริช คือ "บราม สโตเกอร์" จับความในประวัติศาสตร์ว่าเคยมีเจ้าชายนักรบชื่อ "วแลด เทเปส" มาพักที่ปราสาทนี้ แล้วไปผูกเรื่องเป็น"ท่านเคาท์แดร๊กคิวล่า" ที่กลางวันนอนโลงศพ กลางคืนลุกขึ้นมาดูดเลือดเหยื่อที่มักเป็นสาวสวย
ครั้นนิยายถูกนำไปสร้างเป็นหนังผีสยองขวัญ ที่คริสเตอร์เฟอร์ ลี สวมบทเคาท์แดร๊กคิวล่า ทำเงินถล่มทลายเพราะคนดูตรึม โลกก็เลยรู้จักปราสาทบรานในฐานะ"ปราสาทแดร๊กคิวล่า"ชักพาให้คนไปเที่ยวตรึมเช่นกัน แล้วพานเข้าใจว่าเป็นปราสาทผีดิบจริงๆ ทั้งๆ ที่มันเป็นเพียงนิยาย เลยเถิดถึงขั้นตามไปดูโบสถ์คริสต์นิกายออร์โธดอกซ์ บนเกาะกลางทะเลสาบ "ซนากอฟ"ชานกรุงบูคาเรสต์ เมืองหลวงของโรมาเนีย ซึ่งตามประวัติว่าสร้างโดยเจ้าชายวแลด เทเปส และยังเป็นที่ฝังศพของท่าน แต่โปรแกรมทัวร์บอกเป็น "สุสานแดร๊กคิวล่า"
บาทหลวงที่ดูแลโบสถ์นี้ท่านคงรำคาญเต็มทน ที่มีคนมาถามหาหลุมศพแดร๊กคิวล่าอยู่เรื่อย ท่านเลยเขียนคำอธิบายแล้วลงทุนอัดสำเนาแจก เนื้อหามีอยู่ว่า "วแลด เทเปส (Vlad Tepes) ทำไมเขาจึงได้รับสมญานามว่า "แดร๊กคิวลา" เพราะเขาเป็นผีดิบดูดเลือดรึ? ช่างไร้สาระสิ้นดี ลองมาฟังเรื่องนี้ดีกว่า เมื่อ 600 ปีก่อน พวกเติร์กแห่งอาณาจักรออตโตมานกำลังขยายอำนาจ ขณะที่โรมาเนียแบ่งเป็นแคว้นทรานซิลวาเนีย กับแคว้นวาลาเคีย มีเจ้าชายผู้กล้าคนหนึ่ง ชื่อ "วแลดแห่งวาลาเคีย" ปฏิบัติการรุกรบต่อต้านการโจมตีของพวกเติร์กอย่างแข็งขัน จนเป็นที่เลื่องลือในความเก่งกล้า บ้าบิ่น และเหี้ยมโหดต่อศัตรูผู้รุกราน
ยามนั้น ชาวบ้านนิยมเรียกเขาว่า "วแลด แดรคูล" แปลว่า "วแลด เจ้ามังกรผยองเดช" เพราะพ่อของวแลด ได้รับการแต่งตั้งจากพระจักรพรรดิซิกิสมุนด์แห่งนูเรมเบิร์ก ให้เป็น "อัศวินมังกร" (Knight of Dragon's Order) ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ตกทอดถึงทายาทด้วย เมื่อวแลดขึ้นครองวาลาเคีย และยังเป็นเจ้าชายนักรบผู้กล้า ผู้คนจึงเรียกเขาอย่างภูมิใจว่า "วแลด แดรโค" (Vlad Draco) เพราะ "แดรโค" เป็นภาษาละตินแปลว่า "Dragon" หรือมังกรนั่นเอง ภายหลังจึงเพี้ยนเสียงเป็น "วแลด แดรคูล" (Vlad Dracul) ไม่ใช่ท่านเคาท์แดร๊กคิวล่าจอมดูดเลือดแต่อย่างใดเลย..."
แต่ "วแลด แดรคูล" แห่งแคว้นวาลาเคีย มาเป็นท่าน "เคาท์ แดร๊กคิวล่า" ที่ปราสาทบรานแห่งแคว้นทรานซิลวาเนียได้อย่างไร? สันนิษฐานกันว่า วแลด แดรคูล อาจเคยมาช่วยทรานซิลวาเนียต่อสู้กับพวกเติร์กที่ปราสาทบราน หรือท่านอาจเคยครอบครองปราสาทนี้อยู่ระยะหนึ่ง ก็เลยเอาตำนานความโหดร้ายของท่านมาผูกเรื่องเป็นผีดิบไปเสีย ซึ่งหากท่านโหดร้ายจริง ก็โหดร้ายกับศัตรูผู้รุกราน แล้วมันผิดตรงไหน? ใครๆ ก็รู้ว่าพวกเติร์กสมัยนั้นก็โหดใช่ย่อย ไม่ต้องดูอื่นไกล มีหลักฐานบางเล่มระบุว่าสมเด็จพระนเรศวรก็ทรงโหดเหี้ยมต่อศัตรูและต่อไพร่พลที่หนีทหารหรือแปรพักตร์ ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดา มิฉะนั้นพระองค์คงกอบกู้บ้านเมืองไม่ได้
ปราสาทแดร๊กคิวล่า จึงถือเป็น "ความจริงที่หลอกลวง" แต่เรื่องนี้ชาวโรมาเนียไม่ได้โวยวายอะไร เพราะความจริงลวงนี้นำเงินตราเข้าประเทศมหาศาล ล่าสุด มีข่าวว่า ทายาทผู้ครองแคว้นทรานซิลวาเนีย (ไม่ใช่ทายาทผีดิบดูดเลือด) ประกาศจะขายปราสาทบรานให้รัฐบาลโรมาเนียเป็นเงินถึง 60 ล้านยูโร หรือแค่ 2,800 กว่าล้านบาท
ครั้นนิยายถูกนำไปสร้างเป็นหนังผีสยองขวัญ ที่คริสเตอร์เฟอร์ ลี สวมบทเคาท์แดร๊กคิวล่า ทำเงินถล่มทลายเพราะคนดูตรึม โลกก็เลยรู้จักปราสาทบรานในฐานะ"ปราสาทแดร๊กคิวล่า"ชักพาให้คนไปเที่ยวตรึมเช่นกัน แล้วพานเข้าใจว่าเป็นปราสาทผีดิบจริงๆ ทั้งๆ ที่มันเป็นเพียงนิยาย เลยเถิดถึงขั้นตามไปดูโบสถ์คริสต์นิกายออร์โธดอกซ์ บนเกาะกลางทะเลสาบ "ซนากอฟ"ชานกรุงบูคาเรสต์ เมืองหลวงของโรมาเนีย ซึ่งตามประวัติว่าสร้างโดยเจ้าชายวแลด เทเปส และยังเป็นที่ฝังศพของท่าน แต่โปรแกรมทัวร์บอกเป็น "สุสานแดร๊กคิวล่า"
บาทหลวงที่ดูแลโบสถ์นี้ท่านคงรำคาญเต็มทน ที่มีคนมาถามหาหลุมศพแดร๊กคิวล่าอยู่เรื่อย ท่านเลยเขียนคำอธิบายแล้วลงทุนอัดสำเนาแจก เนื้อหามีอยู่ว่า "วแลด เทเปส (Vlad Tepes) ทำไมเขาจึงได้รับสมญานามว่า "แดร๊กคิวลา" เพราะเขาเป็นผีดิบดูดเลือดรึ? ช่างไร้สาระสิ้นดี ลองมาฟังเรื่องนี้ดีกว่า เมื่อ 600 ปีก่อน พวกเติร์กแห่งอาณาจักรออตโตมานกำลังขยายอำนาจ ขณะที่โรมาเนียแบ่งเป็นแคว้นทรานซิลวาเนีย กับแคว้นวาลาเคีย มีเจ้าชายผู้กล้าคนหนึ่ง ชื่อ "วแลดแห่งวาลาเคีย" ปฏิบัติการรุกรบต่อต้านการโจมตีของพวกเติร์กอย่างแข็งขัน จนเป็นที่เลื่องลือในความเก่งกล้า บ้าบิ่น และเหี้ยมโหดต่อศัตรูผู้รุกราน
ยามนั้น ชาวบ้านนิยมเรียกเขาว่า "วแลด แดรคูล" แปลว่า "วแลด เจ้ามังกรผยองเดช" เพราะพ่อของวแลด ได้รับการแต่งตั้งจากพระจักรพรรดิซิกิสมุนด์แห่งนูเรมเบิร์ก ให้เป็น "อัศวินมังกร" (Knight of Dragon's Order) ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ตกทอดถึงทายาทด้วย เมื่อวแลดขึ้นครองวาลาเคีย และยังเป็นเจ้าชายนักรบผู้กล้า ผู้คนจึงเรียกเขาอย่างภูมิใจว่า "วแลด แดรโค" (Vlad Draco) เพราะ "แดรโค" เป็นภาษาละตินแปลว่า "Dragon" หรือมังกรนั่นเอง ภายหลังจึงเพี้ยนเสียงเป็น "วแลด แดรคูล" (Vlad Dracul) ไม่ใช่ท่านเคาท์แดร๊กคิวล่าจอมดูดเลือดแต่อย่างใดเลย..."
แต่ "วแลด แดรคูล" แห่งแคว้นวาลาเคีย มาเป็นท่าน "เคาท์ แดร๊กคิวล่า" ที่ปราสาทบรานแห่งแคว้นทรานซิลวาเนียได้อย่างไร? สันนิษฐานกันว่า วแลด แดรคูล อาจเคยมาช่วยทรานซิลวาเนียต่อสู้กับพวกเติร์กที่ปราสาทบราน หรือท่านอาจเคยครอบครองปราสาทนี้อยู่ระยะหนึ่ง ก็เลยเอาตำนานความโหดร้ายของท่านมาผูกเรื่องเป็นผีดิบไปเสีย ซึ่งหากท่านโหดร้ายจริง ก็โหดร้ายกับศัตรูผู้รุกราน แล้วมันผิดตรงไหน? ใครๆ ก็รู้ว่าพวกเติร์กสมัยนั้นก็โหดใช่ย่อย ไม่ต้องดูอื่นไกล มีหลักฐานบางเล่มระบุว่าสมเด็จพระนเรศวรก็ทรงโหดเหี้ยมต่อศัตรูและต่อไพร่พลที่หนีทหารหรือแปรพักตร์ ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดา มิฉะนั้นพระองค์คงกอบกู้บ้านเมืองไม่ได้
ปราสาทแดร๊กคิวล่า จึงถือเป็น "ความจริงที่หลอกลวง" แต่เรื่องนี้ชาวโรมาเนียไม่ได้โวยวายอะไร เพราะความจริงลวงนี้นำเงินตราเข้าประเทศมหาศาล ล่าสุด มีข่าวว่า ทายาทผู้ครองแคว้นทรานซิลวาเนีย (ไม่ใช่ทายาทผีดิบดูดเลือด) ประกาศจะขายปราสาทบรานให้รัฐบาลโรมาเนียเป็นเงินถึง 60 ล้านยูโร หรือแค่ 2,800 กว่าล้านบาท
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น