วันจันทร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ปราสาทนอยชวานชไตน์ ปราสาทในเทพนิยาย


ปราสาทนอยชวานชไตน์ (Schloß Neuschwanstein) เป็นปราสาทตั้งอยู่ในเทือกเขาแอลป์แถบแคว้นบาวาเรีย ประเทศเยอรมนี สร้างในสมัยพระเจ้าลุกวิกที่ 2ในช่วง ค.ศ. 1845-86 เป็นปราสาทที่งดงามมากที่สุดอีกแห่งหนึ่งของโลก และเป็นต้นแบบของการสร้างปราสาทเทพนิยายเจ้าหญิงนิทราที่สวนสนุกดิสนีย์แลนด์ และฮ่องกงดิสนีย์แลนด์ รวมไปถึงที่แดนเนรมิต


ในบรรดากษัตริย์ของยุโรปทั้งหลาย เมื่อกว่าหนึ่งร้อยปีล่วงมา ชื่อของกษัตริย์ ลุดวิกที่ 2 แห่งแคว้นบาวาเรีย ดูจะเป็นที่คุ้นหูเรา มากกว่าพระองค์อื่นๆ เนื่องเพราะพระองค์ เป็นผู้มีความหลงไหลใฝ่ฝันที่จะสร้างสรรปราสาทราชวังที่ประทับ อันสมบูรณ์แบบที่สุดขึ้นมา โดยในเขตแคว้นอัลไพน์ พระองค์ทรงสร้าง ปราสาทนอยชวานสไตน์ ส่วนความคลั่งไคล้ของ พระองค์ต่อโลกยุคบูร์บองแห่งฝรั่งเศส ก็ได้แสดง ออกมาเป็น พระราชวังลินเดอร์โฮฟ และ พระราชวังแฮเรนคีมเซ รวมทั้งหมดเป็นสามแห่งด้วยกัน
ปราสาทหลังใหญ่สีขาวดั่งรูปเงาของกษัตริย์ลุดวิกที่ 2 แห่งบาวาเรีย ประกอบด้วยยอดแหลมสะโอดสะอง ของหลังคาปราสาทต่างๆ มองดูไปแล้ว ก็ไม่น่าเชื่อว่า จะมีสิ่งก่อสร้างใหญ่โตสวยงามอย่างนี้ ตั้งอยู่กลางป่าเขาลำเนาไพร ที่ซึ่งมีสีสันแปลกแปลง แตกต่างไปในแต่ละฤดูกาลได้


ปราสาทนอยชวานสไตน์ หนึ่งในปราสาทราชวัง ที่มีชื่อเสียงเป็นที่เลื่องลือ ของกษัตริย์ลุดวิกที่ 2 ถูกสร้างขึ้นด้วยเงินทุนมหาศาล เริ่มตั้งแต่ปี 1868 ถึงปี 1892 แต่ทว่า ปราสาทหลังนี้ เพิ่งได้รับขนานนามว่า "นอยชวานสไตน์" ก็เพียงภายหลังจากที่ กษัตริย์ลุดวิกที่ 2 ได้เสด็จสวรรคตแล้วในปี 1886
ปราสาทสวยอันเป็นที่อนุสรณ์ให้รำลึกถึงเจ้าของแห่งนี้ ได้รับการออกแบบจัดสร้าง โดยนักออกแบบ ฉากละคร ที่เลื่องชื่อ คริสเตียน จังค์ โดยเขาใช้โครงร่างจาก ปราสาทวาร์ทบวร์ก ในแคว้นธูริงเกีย แล้วนำมาปรับแปลงให้สอดคล้อง รับเข้ากับกับแรงบันดาลใจอย่างแรงกล้า ขององค์กษัตริย์ลุดวิกที่ 2 ที่มีต่ออุปรากรของ ริชาร์ด วากเนอร์ 2 เรื่อง คือ โลเฮนกริน และ ทานน์ฮอยเซอร์ การตกแต่งภายในห้องหับต่างๆ ของตัวปราสาท ทำโดย ยูลิอุส เฮฟฟ์มานน์ ในปี 1880
ตัวปราสาทมีที่ตั้งอันน่าทึ่งบนหินผาขนาดใหญ่ยักษ์ สูงกว่า 200 เมตร เหนือออบแก่งของแม่น้ำพอลลัท นอกจากนี้ ยังมีภาพธรรมชาติและทิวทัศน์ ที่สวยงามมาก เมื่อมองจาก สะพานมาเรียน ที่ซึ่งทอดข้ามสายน้ำเชี่ยวกรากในลำธารเบื้องล่าง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น